Cute Apple

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

มลพิษทางอากาศ (Air pollution)





บทนำ



                  ในปัจจุบันปัญหามลพิษทางอากาศได้เพิ่มมากขึ้นอย่างน่าวิตก โดยเฉพาะในเขตบริเวณที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศมากได้แก่ บริเวณที่เป็นพื้นที่ริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่น มีสาเหตุมาจากการเพิ่มจำนวนของรถยนต์และยานพาหนะต่างๆ อย่างรวดเร็ว ฝุ่นละอองจัดได้ว่าเป็นปัญหาหลักและรุนแรงที่สุด ก๊าซโอโซนและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซ ในบริเวณริมถนนมีปริมาณเกินมาตรฐาน คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจศึกษาในเรื่อง ปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากการจราจรภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้ทำการศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศ โดยเนื้อหาสาระในบล็อกนี้จะกล่าวถึง แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ และแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ



                  อากาศคือ สิ่งจำเป็นอันดับแรก ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ นับแต่วินาทีแรกของการเกิด และสิ่งแรก ของการบ่งบอกถึง การมีชีวิตแน่นอนที่สุดคือ "การหายใจ" เพียงเท่านี้ก็คงทำให้เข้าใจได้ว่าอากาศมีความสำคัญต่อคนเราอย่างไรมากน้อยเพียงไร
                 มลพิษทางอากาศ หมายถึงสภาวะของอากาศที่มีสิ่งแปลกปลอมเจือปนอยู่ ในปริมาณที่ทำให้คุณภาพตามธรรมชาติเปลี่ยนแปลงและเสื่อมโทรมลง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อมนุษย์และสัตว์



วัตถุประสงค์

1.  เพื่อศึกษาถึงปัญหามลพิษทางอากาศในมหาวิทยาลัยบูรพา
2.  เพื่อศึกษาถึงแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในมหาวิทยาลัยบูรพา




ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ทราบถึงปัญหามลพิษทางอากาศในมหาวิทยาลัยบูรพา
2. ได้ทราบถึงแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในมหาวิทยาลัยบูรพา



พื้นที่การศึกษา

มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี



วิธีการศึกษา

1. สมาชิกทุกคนปรึกษาช่วยกันคิดหัวข้อในการทำบล็อค
2. ศึกษารวบรวมข้อมูลเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษทางอากาศในมหาวิทยาลัยบูรพาดังนี้
           2.1 แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศในมหาวิทยาลัยบูรพา ได้แก่ มลพิษจากยานพาหนะประเภทต่าง เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์
            -  รถจักรยานยนต์ ก่อให้เกิดควันพิษเป็นหมอกขาวจำนวนมาก




            -  รถยนต์ ก่อให้เกิดควันพิษและฝุ่นเคมีออกสู่อากาศ




           2.2 ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ

                   1. เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะระบบหายใจ มะเร็งผิวหนัง ระบบประสาท และอาจสะสมในเนื้อเยื่อร่างกายมวลสารแต่ละชนิดจะเป็นผลกระทบต่อสุขภาพต่างกัน
                   2. สารพิษที่ระบายออกสู่บรรยากาศ บางชนิดคงตัวอยู่ในบรรยากาศได้เป็นเวลานาน และแพร่กระจายออกไปได้ไกล บางชนิดเป็นปฏิกิริยาต่อกันและเกิดเป็นสารใหม่ที่เป็นอันตราย
                  3. ทำให้เกิดฝนกรด โดยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่มีสารกำมะถันเจือปน เมื่อทำปฏิกิริยารวมตัวกับน้ำและกลั่นตัวเป็นฝน จะมีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งก่อสร้าง
                 4. ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) เกิดจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ออกไซด์ของไนโตรเจน โอโซน และสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) เมื่อลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ จะปกคลุมไม่ให้รังสีความร้อนจากผิวโลกระบายขึ้นสู่บรรยากาศระดับสูงขึ้นได้ ทำให้เกิดการสะสมความร้อนของผิวโลก
            2.3 แนวทางป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ 
           1. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อลดปัญหาจราจรติดขัด และหมั่นตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ให้ดีอยู่เสมอ
       2. ลดสารภาวะมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด โดยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเชื้อเพลิง ใช้เครื่องยนต์ที่มีมลพิษน้อย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดมลพิษจากยานพาหนะ
       3. สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการขนส่งที่มีมลพิษน้อย การเดินทางด้วยทางเลือกใหม่โดยใช้
รถจักรยาน
      4. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอันตรายที่เกิดจากภาวะมลพิษทางอากาศ และมีส่วนรวมในการป้องกันแก้ไม่ให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ
      5. ออกกฎหมายควบคุมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่ปล่อยควันดำ ควันขาว ปรับปรุงกฎหมาย สิ่งแวดล้อมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามและการใช้บังคับกฎหมายด้านการจัดการภาวะมลพิษทางอากาศ
 3. ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล และสอบถามนิสิตในมหาวิทยาลัยบูรพา
 4. นำข้อมูลที่ได้จากการสอบถามมาสรุปผล และจัดทำบล็อก


ผลการศึกษา


ภาพบรรยากาศในมหาวิทยาลัยบูรพา





ภาพการใช้ยานพาหนะในมหาวิทยาลัยบูรพา






สรุปผล



จากการสอบถามนิสิตในมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า
สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในมหาวิทยาลัยบูรพา คือ ปัญหาจากการจราจรในมหาวิทยาลัยบูรพา จาก รถจักรยานยนต์ และรถยนต์เป็นส่วนใหญ่ ก่อให้เกิดควันพิษแพร่กระจายในอากาศ
ผลกระทบต่อนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา

1. ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ จากการสูดควันพิษเข้าไป
2. ทําให้ทัศนวิสัยเลวลง อากาศเต็มไปด้วยมลพิษ ไม่น่าอยู่


แนวทางการแก้ไขปัญหา



1. รณรงค์ให้ใช้รถจักรยานให้มากขึ้น และเพิ่มปริมาณรถสองบาทในมหาวิทยาลัยให้เพียงพอกับความต้องการของนิสิต เพื่อเป็นการลดมลพิษทางอากาศจากการใช้รถจักรยานยนต์ และรถยนต์
2. ลดจำนวนลูกระนาดในมหาวิทยาลัยให้น้อยลง เนื่องจากต้องเร่งเครื่องยนต์ทำให้เกิดควันพิษเพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะ



1. ควรตั้งประเด็นการสอบถามเพิ่มเติม

2. ควรศึกษาเรื่องมลพิษด้านอื่นเพิ่มเติม


       


จัดทำโดย

นางสาวกนกกาญจน์     พานใหม่       52021034
นางสาวดวงกมล            กมลสินธุิ์       52021054
 นางสาวพรรษา               บุนนาค          52021078
 นางสาวภาวินี                 ทองผาย        52021086

เสนอ
ดร. ณรงค์    พลีรักษ์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น